จังหวัด
ค่าไฟต่อเดือน บาท
สัดส่วนการใช้ไฟช่วงเวลากลางวัน 50 %
กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่แบบฟอร์มด้านล่างนี้ เพื่อขอรับการประเมินราคาเพิ่มเติม
Solar System
คำนวณขนาดระบบโซล่ารูฟตามความต้องการทางพลังงานขั้นตํ่าจากค่าไฟต่อเดือน
kWatts
Net Upfront Price
ราคาระบบเบื้องต้นที่ผู้ให้บริการเสนอ
(รวมราคาค่าติดตั้งและภาษีมูลเพิ่ม)
THB
One Year Savings
คำนวนยอดเงินที่จะประหยัดใน 1 ปี จากกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ และอัตราค่าไฟที่เพิ่มขึ้นทุกปี
THB
Installation area
พื้นที่ในการติดตั้งระบบโซล่ารูฟของคุณโดยคำนวณจากจำนวนและขนาดแผง
Square Meter
การติดตั้งโซล่าเซลล์ ซึ่งเป็นระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาขนาด 1 กิโลวัตต์ จะใช้พื้นที่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10 ตารางเมตร โดยมีการวางแผงโซล่าเซลล์ในระยะห่างกันที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถเข้าทำความสะอาดและซ่อมบำรุงได้ อย่างไรก็ตามสภาพบนหลังคาที่จะทำการติดตั้งโซล่าเซลล์ จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง ปล่องไฟ หรือต้นไม้บดบังแสงอาทิตย์ ซึ่งอาจจะต้องทำให้ใช้พื้นที่เพิ่มขึ้น หลังคาที่เหมาะสมในการติดตั้งโซล่าเซลล์มากที่สุด คือหลังคาที่มีสภาพค่อนข้างใหม่ สภาพสมบูรณ์ดี และมีความชันไม่ควรเกิน 15 องศา หันหน้าด้านหลังคาไปทางทิศใต้ จึงจะสามารถติดตั้งโซล่าเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้โซล่าเซลล์ ได้รับแสงอาทิตย์และผลิตไฟฟ้าได้ดีที่สุด
การทำงานของระบบโซล่าเซลล์ สามารถประหยัดไฟฟ้าได้อย่างแน่นอน เพราะ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าเซลล์ ซึ่งเป็นระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งไว้บนหลังคา จะถูกจ่ายเข้าร่วมกับไฟฟ้าเดิมที่ซื้อจากการไฟฟ้าอยู่แล้ว เมื่อระบบของโซล่าเซลล์ทำงานจะผลิตพลังงานไฟฟ้าจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านก่อนไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้า ในกรณีที่ไฟฟ้าผลิตจากระบบโซล่าเซลล์ ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าจะจ่ายเข้าไปช่วยเสริมในส่วนที่ยังขาดอยู่ และในกรณีที่ไม่มีแสงอาทิตย์ ระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าเซลล์จะหยุดการทำงานโดยอัตโนมัติ และไฟฟ้าจากการไฟฟ้าจะเข้ามาจ่ายให้กับอุปกรณ์ภายในบ้านตามปกติ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีแสงอาทิตย์ ระบบโซล่าเซลล์ก็จะสามารถทำงานได้ตามปกติเช่นกัน
การใช้โซล่าเซลล์สามารถประหยัดค่าไฟต่อเดือนของคุณได้เป็นจำนวนมาก โดยอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับประเภทบ้านที่อยู่อาศัยจะมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ อัตราปกติ และอัตราตามช่วงเวลาการใช้ (Time of Use rate : TOU) โดยอัตรา TOU จะใช้สำหรับบ้านที่อยู่อาศัยที่ซื้อไฟฟ้าที่ระดับแรงดันสูงกว่า 22 กิโลโวลต์ และไม่เกิน 22 กิโลโวลต์
อัตราค่าไฟฟ้าจะแสดงดังตารางต่อไปนี้บ้านหนึ่งหลัง มีการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 1 กิโลวัตต์ต่อวัน และมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 14 ชั่วโมงต่อวัน
คำนวนค่าไฟฟ้าต่อเดือน (ไม่รวมภาษีและค่าบริการ) 1 กิโลวัตต์ x 14 ชั่วโมง = 14 หน่วยต่อวัน
30 วัน/เดือน = 420 หน่วยต่อเดือน
อัตราค่าไฟฟ้าที่ 1.1.2 ใช้พลังงานไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน
หน่วยที่ 0 – 150 หน่วยแรก 3.2484 x 150 = 487.26 บาท
หน่วยที่ 151 - 400 4.2218 x 250 = 1,055.45 บาท
หน่วยที่ 401 ขึ้นไป 4.4217 x 20 = 88.43 บาท
รวมค่าไฟฟ้า = 1,631.14 บาท/เดือน
การประหยัดค่าไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์ ในกรณีติดตั้งโซล่ารูฟที่ 1 กิโลวัตต์ และสมมติว่ามีแสงอาทิตย์ที่สามารถทำงานเต็มที่ได้ตลอดทั้งวันเฉลี่ยอยู่ที่ 5 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นระบบโซล่ารูฟจะสามารถผลิตพลังงานได้ 5 กิโลวัตต์ต่อวัน หรือคิดเป็น 150 หน่วยต่อเดือน
คิดค่าไฟฟ้าส่วนที่ประหยัดได้ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้เดิม 420 หน่วย – พลังงานไฟฟ้าจากโซล่ารูฟ 150 หน่วย เท่ากับว่าระบบโซล่าเซลล์ช่วยประหยัดไป 450-150 เหลือ 270 หน่วย
หน่วยที่ 0 – 150 หน่วยแรก 3.2484 x 150 = 487.26 บาท
หน่วยที่ 151 - 400 4.2218 x 120 = 506.62 บาท
หน่วยที่ 401 ขึ้นไป 4.4217 x 0 = 0 บาท
รวมค่าไฟฟ้า = 993.88 บาท/เดือน
การใช้โซล่าเซลล์สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 1,631.14 - 993.88 = 637.26 บาทต่อเดือน หรือ 7,647.12 บาทต่อปี
การติดตั้งโซล่าเซลล์จะต้องดูที่ขนาด ถ้าใช้กำลังติดตั้งที่ประมาณ 1 กิโลวัตต์จะใช้ระยะเวลาในการติดตั้งโซล่าเซลล์ไม่เกิน 7 วัน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการขออนุญาตที่เกี่ยวข้อง)
โซล่าเซลล์เป็นระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ซึ่งโซล่าเซลล์จะมีระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ระบบป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกิน อุปกรณ์ทุกตัวสามารถป้องกันการติดไฟได้ และการติดตั้งด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญ ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าระบบโซล่าเซลล์มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของเจ้าของบ้าน
การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ดังกล่าวมีรูปแบบการติดตั้งหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของหลังคา ยกตัวอย่างหลังคาประเภทซีแพค โมเนีย การติดตั้งโซล่าเซลล์คือ การใช้อุปกรณ์ยึดแผงโซล่าเซลล์กับหลังคา โดยไม่มีการเจาะหลังคา และประเภทหลังคาชนิดเมทัลชีสต์ จะมีการติดตั้งโซล่าเซลล์สองประเภท คือ แบบเจาะ และแบบหนีบยึด โดยการติดตั้งทุกประเภทสามารถทนต่อแรงลมได้ไม่น้อยกว่า 30 เมตรต่อวินาที
อย่างไรก็ตามงานติดตั้งของบริษัทจะมีการติดตั้งโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมตามประเภทของงานโดยใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม สามารถป้องกันน้ำรั่วได้ตลอดอายุการใช้งาน และทางบริษัทมีรับประกันหลังคารั่วให้ 2 ปี
ก่อนจะทำการติดตั้งโซล่าเซลล์ทางบริษัทจะดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตให้กับลูกค้าทั้งหมด โดยใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- ใบอนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลง/ต่อเติม (อ.1)
- ใบอนุญาตขอขนานไฟฟ้า
- ใบอนุญาตขอยกเว้นการประกอบกิจการพลังงาน
โซล่าเซลล์มีการรับประกันในส่วนของแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งทางผู้ผลิตรับประกันผลิตภัณฑ์ที่ 10 ปี และรับประกันประสิทธิภาพที่ 25 ปี ไม่ต่ำกว่า 80 % ส่วนอินเวอร์เตอร์มีการรับประกันสินค้าที่ 5 ปี และสามารถขยายได้อีก 5 ปี สูงสุดขยายได้ไม่เกิน 15 ปี และอุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบโซล่าเซลล์มีการรับประกันอยู่ที่ 2 ปี รับประกันหลังคารั่วอยู่ที่ 2 ปี
ลูกค้าสามารถดูแลรักษาโซล่าเซลล์เองได้ในส่วนของอุปกรณ์ที่ไม่มีความซับซ้อนทางเทคนิค เช่น การทำความสะอาด เป็นต้น ลูกค้าสามารถใช้น้ำเปล่าและไม้ถูพื้น ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์เองได้ และลูกค้าสามารถตรวจสอบด้วยสายตาในอุปกรณ์ต่าง ๆ ของโซล่าเซลล์ได้ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ไฟ LED เตือนหรือมีข้อความเตือนที่อินเวอร์เตอร์ ก็ให้ลูกค้าสามารถแจ้งมายังบริษัท เพื่อทำการเข้าไปตรวจสอบ
![]() ![]() |
![]() ![]() |
![]() ![]() |
![]() ![]() |
|||
---|---|---|---|---|---|---|
สำหรับผู้อยู่
อาศัยจำนวน |
คน |
![]() ผู้พักอาศัย 1-2 คน |
![]() ผู้พักอาศัย 3-4 คน |
![]() ผู้พักอาศัย 5-6 คน |
![]() ผู้พักอาศัย 8-10 คน |
|
กำลังติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ | กิโลวัตต์ | 2.24 | 3.92 | 5.60 | 12.00 | |
ระบบไฟฟ้าของโซล่าเซลล์ | เฟส | 1 | 1 | 1 | 3 | |
แผงโซล่าเซลล์ | วัตต์ | 275-310 | 275-310 | 275-310 | 275-310 | |
อินเวอร์เตอร์ | กิโลวัตต์ | 2.0 | 3.3 | 5.0 | 10.0 | |
พื้นที่ติดตั้ง | ตารางเมตร | 14-18 | 24-28 | 36-40 | 80-86 | |
หน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อปี | หน่วย | 3,270 | 5,723 | 8,176 | 17,520 | |
ระยะเวลาคืนทุน*4,5 | 8 - 10 ปี | |||||
ค่าไฟฟ้าที่สามารถ*4,5 ประหยัดสะสม 25 ปี | บาท | 435,667 | 762,417 | 1,089,167 | 2,333,929 |