เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ สถาปนิก

idroof

สถาปนิก ผู้ออกแบบ

บทบาทของสถาปนิก

สถาปนิก (Architect) คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้

อิสระในการออกแบบ

รองรับการออกแบบหลังคาได้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น จั่ว ปั้นหยา โค้ง ให้อิสระในการออกแบบหลังคาได้มากยิ่งขึ้น

ผลิตภัณฑ์หลังคาของ ID ROOF

  • ติดตั้งโดยทีมงานมืออาชีพที่ พร้อมวิศวกรที่ดูแลการติดตั้ง และทีมประกันคุณภาพที่ตรวจสอบทุกขั้นตอนการดำเนินงาน
  • มีสีให้เลือกหลากหลายสี เพื่อความสวยงามเป็นในแบบของคุณ
  • รับประกันคุณภาพนานตลอดอายุการใช้งาน
  • ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทีมงาน ID ROOF
ติดต่อทีมงาน ID ROOF

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ สถาปนิก

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม

ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม หรือเดิม (ก่อน พ.ร.บ. สภาสถาปนิก 2543) เรียกย่อว่า ก.ส. เป็นเอกสารรับรองของสถาปนิกในการออกแบบและเซ็นรับรองแบบ ที่รับรองโดยสภาสถาปนิก ในปัจจุบันมีอยู่ 4 สาขาด้วยกันได้แก่ สถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ สถาปัตยกรรมผังเมือง และ ภูมิสถาปัตยกรรม ใบประกอบวิชาชีพฯมี 4 ระดับเรียงจากสูงไปต่ำ คือ วุฒิสถาปนิก สามัญสถาปนิก ภาคีสถาปนิก และ สถาปนิกภาคีพิเศษขอบเขตงานที่ควบคุมในสาขาต่างๆ ถูกกำหนดไว้โดยในกฎกระทรวง (พ.ศ. 2549) ว่าด้วยการกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม

ขั้นตอนการให้บริการวิชาชีพของสถาปนิก

สถาปนิกจะทำการบริการวิชาชีพตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ออกแบบเบื้องต้น (Schematic Design)
  2. ออกแบบรายละเอียด (Design Development หรือ DD)
  3. ทำแบบก่อสร้าง (Construction Document)
  4. การประมูลและเจรจาต่อรอง (Bidding and Negotiation)
  5. บริหารงานก่อสร้าง (Construction Administration)

ขอบเขตงานของสถาปนิก

สถาปนิกในปัจจุบันได้มีการขยายขอบเขตการประกอบวิชาชีพไปในหลายๆ ด้านที่เป็นแนวทางเฉพาะ เช่น

  1. งานด้านออกแบบ (Design)
  2. งานด้านการบริหารโครงการ (Construction Management)
  3. งานด้านการบริหารการใช้พลังงานในอาคาร (Building Energy Management)
  4. งานด้านการออกแบบการให้แสง (Lighting Design)
  5. งานด้านบริหารจัดการอาคาร (Facility Management)
  6. งานด้านอนุรักษ์ (Preservation)
  7. งานตรวจสอบมาตรฐานและความปลอดภัยของอาคาร (Building Inspection)

สถาบันการศึกษาทางสถาปัตยกรรมในประเทศไทย

สถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ผลิตสถาปนิกของประเทศไทยแห่งแรก คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2476 โดยอาจารย์นารถ โพธิประสาท ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2498 ได้มีการเปิดสอนคณะสถาปัตยกรรมไทย ปัจจุบัน คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากนั้น ได้มีการสถาปนา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ขึ้น ซึ่งมี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นคณะแรกของสถาบัน และนับเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตสถาปนิกเป็นแห่งที่ 3 ของประเทศ ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยรังสิต จากนั้น ก็ได้มีสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนเปิดสอนเป็นจำนวนมากดังปัจจุบัน

รายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทย

ที่มา : th.wikipedia.org

Link ที่เกี่ยวข้อง

โปรแกรมคำนวณหลังคา

idroof

หากต้องการคำนวณพื้นที่ของหลังคาโดยประมาณ ทาง ID ROOF มีโปรแกรมช่วยในการคำนวณหาขนาดของหลังคา ทั้งแบบจั่ว(Gable) และปั้นหยา(Hip)

โปรแกรมคำนวณหลังคา

หรือ ติดต่อสอบถามทีมงาน ID ROOF

ติดต่อทีมงาน ID ROOF

ไอดี ไนนท์ เหมาะกับใคร?